พูดได้เลย

พูดได้เลย


ฉันขอโทษด้วย ที่ฟังไม่เข้าใจ

ฉันขอโทษด้วย ที่ฟังไม่เข้าใจ

เคล็ดลับเพื่อนักช้อป

เคล็ดลับเพื่อนักช้อป

ฮ่องกงเต็มไปด้วยร้านค้าปลีกและร้านอาหารมากมาย มีสารพัดเมนูให้นักช้อปผู้นิยมความคุ้มค่าในราคาประหยัดได้เลือกดูจนตาลายทั้งปีก็ยังไม่ครบ เรามีเคล็ดลับเล็กๆ น้อยๆ ที่จะช่วยให้ภารกิจช้อปและชิมในฮ่องกงของคุณง่ายกว่าเคย


ช้อปจากร้านค้าปลีกที่ผ่านการรับรอง QTS
  • ช้อปจากร้านค้าปลีกที่ผ่านการรับรอง QTS

ช้อปจากร้านค้าปลีกที่ผ่านการรับรอง QTS คุณวางใจได้ในร้านค้าที่มีป้าย QTS เพราะร้านเหล่านี้ต้องผ่านการประเมินคุณภาพรายปีที่เข้มงวด โดยต้องเป็นร้านที่มีคุณสมบัติดังนี้

1. แสดงราคาสินค้าชัดเจน
2. แจ้งข้อมูลสินค้าชัดเจน และ 
3. ให้บริการลูกค้าอย่างไม่ขาดตกบกพร่อง

โครงการคุณภาพบริการด้านการท่องเที่ยว (Quality Tourism Services หรือ QTS) เป็นโครงการของการท่องเที่ยวฮ่องกง ที่ให้บริการตอบข้อสงสัยต่างๆ ในการซื้อสินค้าจากร้านค้าที่ได้รับการรับรองตามมาตรฐานโครงการ QTS ดูรายชื่อร้านค้าปลีกที่ผ่านการรับรอง QTS ได้ที่นี่

  • เปรียบเทียบราคา

เปรียบเทียบราคาก่อนซื้อสินค้า แม้สินค้ามีป้ายราคาติดอยู่ชัดเจน โดยเฉพาะในศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าสาขาต่างๆ แต่ร้านค้าเล็กๆ และตลาดริมทางบางแห่งก็ไม่ได้ติดราคาสินค้าไว้เสมอไป ถ้าเป็นอย่างนี้ คุณอาจลองต่อราคาได้ อย่างไรก็ดี ขอแนะนำว่าก่อนจ่ายเงิน ควรยืนยันราคาสินค้าให้แน่ใจว่าใช่หน่วยของปริมาณที่ใช้คิดราคาตามที่ตกลงหรือไม่

 

  • ค่าธรรมเนียมถุงพลาสติก

ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2015 ร้านค้าปลีกทุกแห่งในฮ่องกงต้องคิดค่าธรรมเนียมอย่างน้อย 0.50 ดอลลาร์ฮ่องกงต่อถุงพลาสติก 1 ใบที่ใช้ใส่ของให้ลูกค้า ดังนั้นอย่าลืมพกถุงส่วนตัวไปด้วย เพื่อจะได้ไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมและไม่สร้างมลพิษให้สิ่งแวดล้อม ดูรายละเอียดที่นี่

 

  • รู้จักสินค้าที่อยากซื้อ

หาข้อมูลที่จำเป็นเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ รวมทั้งประสบการณ์ที่ผู้อื่นได้รับ และอย่าลืมถามข้อมูลเพิ่มเติมนอกจากที่ปรากฏในโฆษณาหรือข้อความส่งเสริมการขาย เพื่อเปรียบเทียบราคา คุณภาพ และประโยชน์ในการใช้งาน ก่อนซื้อสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ตรวจสอบให้แน่ใจว่าใช่ตามที่ต้องการหรือไม่ เช่น รุ่น คุณสมบัติ ราคา อุปกรณ์เสริม และการรับประกัน (รวมทั้งพื้นที่การประกันที่ครอบคลุม) คุณสามารถสอบถามร้านค้าตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของแบรนด์ยอดนิยมได้ที่สายด่วนสภาผู้บริโภค (Customer Council) หมายเลข +852 2929 2222 หรือไปที่เว็บไซต์สภาผู้บริโภค เพื่อดูข้อมูลเพิ่มเติม

 

  • ช้อปให้สบายใจ

แม้มีบทบัญญัติคำอธิบายเพื่อการค้า (Trade Descriptions Ordinance) เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคได้ดียิ่งขึ้น แต่ผู้ซื้อควรระแวดระวังและสอบถามข้อสงสัยต่างๆ ที่มีเมื่อเลือกซื้อสินค้า หากมีข้อเสนอที่น่าสงสัย ควรปฏิเสธอย่างหนักแน่นและออกจากร้านค้าทันที หากต้องการสอบถามหรือร้องเรียน โปรดติดต่อสายด่วน 24 ชั่วโมงของกรมศุลกากรและสรรพสามิต (Customs and Excise Department) ที่ +852 2815 7711 (สอบถามเรื่องทั่วไป) หรือ +852 2545 6182 (สายด่วนข้อมูล) โปรดดูรายละเอียดที่ปรับปรุงใหม่ที่เว็บไซต์กรมศุลกากรฮ่องกง

 

  • ระวังสินค้านำเข้าซ้อน

การนำเข้าซ้อน คือสินค้าที่นำเข้าฮ่องกงโดยผู้ที่ไม่ใช่ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการ ซึ่งสินค้านำเข้าซ้อนมักราคาถูกกว่า เพราะมักมีการรับประกันหรือการบริการหลังการขายที่จำกัด

 

  • ระวังการตุกติก

ร้านค้าปลีกที่คดโกงจะแสดงสินค้าโดยไม่แจ้งราคาที่แน่นอน เมื่อได้รับเงินมัดจำจากลูกค้า ก็จะอ้างว่าสินค้าหมดสต๊อก แล้วมักจะเสนอขายสินค้าคุณภาพด้อยกว่าและโก่งราคา ควรมองดูว่ามีป้ายราคาที่ชัดเจนหรือไม่ ลองดูหลายร้านเปรียบเทียบกัน รู้จักสินค้าที่คุณจะซื้อ ตรวจดูอุปกรณ์เสริมที่แถมมา และอย่าใจร้อนรีบซื้อ แต่จะให้ดียิ่งกว่า ควรเลือกซื้อสินค้าจากร้านที่มีป้าย QTS

 

  • ระวังการหลอกล่อให้ซื้อสินค้า (พ่อค้าแม่ค้าริมทาง)

โปรดระวังถ้ามีพ่อค้าเข้าถึงตัวคุณเมื่อเดินอยู่ริมถนน อย่าซื้อสินค้าจากพวกที่หลอกล่อให้ซื้อสินค้า หรือตามไปที่โกดังหรือโชว์รูมไม่ว่าอยู่ที่ไหนก็ตาม

 

  • ตรวจสอบสินค้าให้ดี

ดูสินค้าให้ดีก่อนจ่ายเงิน และตรวจดูว่าได้รับอุปกรณ์เสริมครบถ้วน

 

  • อย่าซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือสินค้าปลอมแปลง

เพื่อประโยชน์ของคุณเอง โปรดอย่าซื้อสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์หรือของปลอม กรมศุลกากรฮ่องกงเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบการปกป้องสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญา หากมีข้อสงสัยใดๆ โปรดติดต่อสายด่วน 24 ชั่วโมงของกรมศุลกากรที่หมายเลข +852 2815 7711

 

  • ตรวจสอบใบเสร็จ

ดูใบเสร็จว่ามีรายละเอียดต่างๆ รวมทั้งตามที่ร้านค้าเอ่ยปากตกลง ปรากฏอยู่ครบถ้วน

 

  • การจ่ายด้วยบัตรเครดิต

ร้านค้าในฮ่องกงส่วนมากรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต โปรดตรวจสอบสลิปบัตรเครดิตให้ดีก่อนเซ็นชื่อ และอย่าลืมรับใบเสร็จ บริษัทบัตรเครดิตและ/หรือธนาคารผู้ออกบัตรอาจคิดค่าธรรมเนียมการจ่ายข้ามสกุลเงินเมื่อซื้อสินค้าในต่างประเทศ โดยคุณสามารถตรวจสอบรายละเอียดได้จากผู้ออกบัตร

คำแนะนำสำหรับการซื้อทอง เครื่องประดับ และนาฬิกา
  • คำแนะนำสำหรับการซื้อทอง เครื่องประดับ และนาฬิกา
    • ซื้อจากร้านที่มีชื่อเสียงเสมอ และขอรับใบเสร็จที่มีรายละเอียดการซื้อขายครบถ้วน
    • ตามกฎหมายแล้ว เครื่องประดับทองและแพลตินัมต้องมีการประทับตรารับรองมาตรฐานโลหะมีค่า
    • เมื่อเลือกซื้อเพชร ควรพิจารณา 4C ได้แก่ carat (น้ำหนักกะรัต) clarity (ความสะอาด) cut (การเจียระไน) และ colour (สี) และควรขอดูใบรับรองคุณภาพเพชรเพื่อเทียบเคียงกัน รวมทั้งดูรายละเอียดการรับประกัน
    • เมื่อเลือกซื้อไข่มุก ควรตรวจสอบแหล่งผลิต ความวาว ขนาด และประกาย
    • ในการซื้อ Fei Cui (หยก) ควรพิจารณาความอิ่มสี การกระจายตัวของสี ความโปร่งแสง ขนาด และฝีมือช่าง Fei Cui แบ่งเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังนี้
      • Fei Cui ธรรมชาติ (เรียกกันว่า 'Type A' ในวงการค้าอัญมณี) หมายถึง Fei Cui ที่ไม่ได้ผ่านกระบวนการเคมีแต่อย่างใด
      • Fei Cui ที่ผ่านกระบวนการเคมีและมีการฉีดเรซิน (เรียกว่า 'Type B' ในวงการค้าอัญมณี)Cui (known as 'Type B' in the jewellery trade);
      • Fei Cui ย้อมสี (หรือ 'Type C' ในวงการค้าอัญมณี)
      • Fei Cui ที่ผ่านกระบวนการเคมี มีการฉีดเรซิน และย้อมสี (เรียกว่า 'Type B+C' ในวงการอัญมณี)

หมายเลขติดต่อที่เป็นประโยชน์:

สมาคมผู้ผลิตอัญมณีและช่างทองฮ่องกง (The Hong Kong Jewellers' and Goldsmiths' Association): +852 2543 9633

สมาพันธ์เพชรฮ่องกง (The Diamond Federation of Hong Kong) (สำหรับสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับเพชร): +852 2524 5081

สมาคมอัญมณีศาสตร์ฮ่องกง (The Gemmological Association of Hong Kong) (สำหรับสอบถามรายชื่อห้องแล็บประเมินคุณภาพเพชร): +852 2366 6006

งานบริการการรับรองมาตรฐานฮ่องกง (The Hong Kong Accreditation Service) (สำหรับสอบถามหน่วยงานประเมินคุณภาพ Fei Cui (หยกเจไดต์) และเพชรที่ได้รับการรับรอง): +852 2829 4841

 

  • ความช่วยเหลือนักท่องเที่ยว

โปรดเก็บใบเสร็จรับเงินเอาไว้ เพราะหากสินค้าที่ซื้อเกิดปัญหา คุณจะนึกดีใจที่ไม่ทิ้งไป โดยนักท่องเที่ยวสามารถติดต่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานต่อไปนี้



โครงการคืนเงินผู้ซื้อ หรือ Refund Protection Scheme (สำหรับร้านค้าที่ลงทะเบียน) เป็นโครงการสำหรับผู้ซื้อที่เดินทางเข้าฮ่องกงแบบคณะทัวร์

นักท่องเที่ยวแบบหมู่คณะที่เป็นลูกค้าร้านค้าที่ลงทะเบียนกับสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Travel Industry Council หรือ TIC) มีสิทธิ์ได้รับการคืนเงินเต็มจำนวนหากไม่พึงพอใจในสินค้าที่ซื้อ ในการขอรับเงินคืน โปรดติดต่อบริษัทนำเที่ยวหรือตัวแทนท่องเที่ยว โดยนักท่องเที่ยวแบบหมู่คณะต้องแสดงใบเสร็จรับเงินฉบับจริงและคืนสินค้าที่พบปัญหา ซึ่งต้องอยู่ในสภาพสมบูรณ์ ไม่สึกหรอเนื่องจากการใช้งาน โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคืนเงินที่เว็บไซต์ TIC หรือติดต่อสภาผู้บริโภคที่หมายเลข +852 2807 0707 (ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 9:00-13:00 น. และ 14:00-17:30 น.) ในช่วงนอกเวลาทำการ สามารถฝากข้อความไว้ที่สายด่วนตามหมายเลขที่ระบุ แล้ว TIC จะติดต่อกลับในวันทำการถัดไป



สิทธิผู้บริโภค

สภาผู้บริโภคมีหน้าที่รับผิดชอบสวัสดิภาพของผู้บริโภคและส่งเสริมให้ผู้บริโภคปกป้องตนเอง โปรดดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการปกป้องสิทธิผู้บริโภคและข้อควรระวังสำหรับผู้บริโภคที่เว็บไซต์สภาผู้บริโภค หรือโทรศัพท์ติดต่อที่หมายเลข +852 2929 2222 (ทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ เวลา 9:00-17:30 น.) ในช่วงนอกเวลาทำการ สามารถฝากข้อความได้ที่สายด่วนดังกล่าว แล้วสภาผู้บริโภคจะติดต่อกลับภายใน 3 วันทำการ



การร้องเรียนสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์ สินค้าปลอมแปลง หรือกรณีอืนๆ ที่ละเมิดระเบียบของบทบัญญัติคำอธิบายเพื่อการค้า

สายด่วนแจ้งเบาะแสอาชญกรรมไปยังกรมศุลกากรและสรรพสามิต: +852 2545 6182 (24 ชั่วโมง)

 

ข้อพิพาทร้ายแรง

ตำรวจฮ่องกง: 999 (24 ชั่วโมง)

We use cookies to ensure that we give you the best experience on our website, to understand your interests and provide personalized content to you as further set out in our Cookie Policy here. If you accept the use of cookies on our website, please indicate your acceptance by clicking the "I accept" button. You may manage your cookies settings at any time.