เขียนโดย เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์
คนส่วนใหญ่มุ่งหน้าไปยังเกาไซเชา เกาะ 8 เหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนอกคาบสมุทรไซกุงและถือเป็นแหล่งมรดกธรณีของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกแห่งฮ่องกง ลองไปเยี่ยมชมเพียงครึ่งบนสุดเพื่อตีกอล์ฟที่สนามกอล์ฟสาธารณะแห่งเดียวของฮ่องกง ทว่าทางตอนใต้สุดซึ่งอยู่เหนือเนินเขาเตี้ย ๆ ที่มองไม่เห็นคือหมู่บ้านชาวประมงที่หาชมได้ยาก นั่นคือ หมู่บ้านชาวประมงเกาไซ ซึ่งเป็นการตั้งถิ่นฐานเพียงแห่งเดียวของเกาะและเหมือนจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อเวลาผ่านไป คุณสามารถจ้างเรือสำปั้นเพื่อเดินทางมายังหมู่บ้านที่งดงามราวภาพวาดแห่งนี้ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของครอบครัวเพียงไม่กี่สิบครอบครัวและวัดเก่าแก่ที่แยกจากกันด้วยช่องแคบเล็ก ๆ จากเกาะจิน น่านน้ำเหล่านี้เป็นที่ตั้งของแพฟาร์มปลาลอยน้ำ ซึ่งคุณสามารถเพลิดเพลินกับกิจกรรมตกปลาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและการผ่อนคลายริมทะเล
ร้านค้าในหมู่บ้านและบ้านหลังสุดท้ายเมื่อคุณเลี้ยวซ้ายจากท่าเรือหมู่บ้านชาวประมงเกาไซจำหน่ายขายเครื่องดื่มจากตู้เย็นกลางแจ้งและให้บริการ “อาหารหมู่บ้านชาวประมง” ที่ได้รับการคัดสรรและเขียนไว้บนกระดานดำ
การเดินทางด้วยเรือสำปั้นใช้เวลา 40 นาทีผ่านชายหาดและถ้ำที่น่าตื่นตาตื่นใจ และนำคุณไปสู่หมู่บ้าน 1 แถวและบ้านสองชั้นริมทะเล โดยห้องนั่งเล่นเปิดออกสู่ทางเดินโดยตรง และคุณสามารถเห็นครอบครัวต่าง ๆ นั่งข้างนอกเพื่อเตรียมและร่วมรับประทานอาหารกลางวัน นอกจากนี้ คุณจะเห็นชาวประมงสูงอายุในหมวกหวายแบบดั้งเดิมนั่งทำความสะอาดกรงกุ้งล็อบสเตอร์ พร้อมทั้งอุปกรณ์ตกปลาและอุปกรณ์ดำน้ำที่ตากลมไว้เรียงราย แน่นอนว่าเป็นเรื่องยากที่คุณจะจินตนาการในตอนนี้ แต่ผู้คนมากกว่า 300 คนอาศัยอยู่ที่นี่ในช่วงทศวรรษ 1950 โดยหลายคนอาศัยอยู่บนเรือที่ทอดสมออยู่ในอ่าวตามธรรมเนียมปฏิบัติ ศิลาจารึกในเมืองนี้อุทิศแด่ Barbara Ward นักมานุษยวิทยาสังคมชาวอังกฤษ ซึ่งอาศัยอยู่ที่นี่ขณะศึกษาวัฒนธรรมของชุมชนชาวประมง เธอมีส่วนช่วยให้ชาวประมงได้รับอนุญาตจากรัฐบาลให้ตั้งรกรากบนที่ดินในปี 1950 ซึ่งนำไปสู่การก่อตั้งหมู่บ้านชาวประมงเกาไซ เมื่อเวลาผ่านไปหลายทศวรรษ ผู้อยู่อาศัยส่วนใหญ่ได้ย้ายไปอยู่ในเมืองหรือต่างประเทศ
ในกรณีที่ร้านค้าในหมู่บ้านปิดทำการ ให้เตรียมน้ำดื่มให้เพียงพอ พร้อมอุปกรณ์ป้องกันแสงแดด รวมถึงหมวกและครีมกันแดด อย่าลืมปฏิบัติตามแนวทางในการเยี่ยมชมอุทยานธรณี: อย่าเดินออกนอกเส้นทางท่องเที่ยวที่แนะนำ อย่าเดินใกล้หน้าผาเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากหินที่ตกลงมา และให้ความเคารพชุมชนอุทยานธรณีและมรดกของชุมชน เยี่ยมชมเว็บไซต์ทางการเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม
วัดที่ตกแต่งอย่างวิจิตรงดงามของหมู่บ้านแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อกว่า 130 ปีที่แล้วเพื่อเป็นเกียรติแก่ Hung Shing เทพที่เชื่อกันว่าปกป้องชาวประมงและพ่อค้าทางทะเล ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม "เทพเจ้าแห่งทะเลใต้" ของจีน ไม่มีบันทึกทางการที่ระบุวันที่แน่นอน แต่มีการกล่าวว่าวัดแห่งนี้ได้รับการปรับปรุงใหม่ครั้งแรกในปี 1889 อาคารอิฐสีเทาที่มีรูปปั้นมังกร 2 ตัวลัดเลาะไปตามหลังคาและตกแต่งด้วยกระเบื้องภาพสีสันสดใสที่ผนังด้านหน้า ครั้งหนึ่งเคยเป็นห้องเรียนสำหรับลูกหลานของชาวบ้าน ภายหลังการบูรณะวัด การอนุรักษ์มรดกแห่งนี้ได้รับการยอมรับในปี 2000 โดยองค์การยูเนสโก ซึ่งในปัจจุบันได้รับการประกาศเป็นอนุสรณ์สถาน พื้นที่ขนาดใหญ่ด้านหน้าวัดใช้สำหรับเป็นเวทีจัดงานเฉลิมฉลองวันเกิดระยะเวลาสี่วันแด่ฮุงซิง ซึ่งมีผู้เข้าร่วมหลายพันคน โดยจะมีการเชิดสิงโตและมังกร รวมถึงการแสดงโอเปร่าจีนในช่วงเดือนจันทรคติที่สองของแต่ละปี
ถัดจากประตูวัด ชั้นล่างของที่ทำการหมู่บ้านได้กลายมาเป็นพื้นที่จัดแสดงนิทรรศการที่ตั้งแสดงเครื่องมือประมงโบราณ และโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมอื่น ๆ รวมถึงภาพถ่ายเก่าแก่ของหมู่บ้านเกาไซ ตลอดจนสมุนไพรท้องถิ่นนานาชนิดที่ใช้ในวัฒนธรรมชาวจีนสำหรับยาแผนโบราณ ห้องเรื่องราวแห่งนี้บริหารงานโดยชาวบ้านที่ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิศึกษาธรรมชาติไลออนส์และอุทยานธรณีฮ่องกง โดยเปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 10:00 น. ถึง 16:00 น. ในวันอาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ (ปิดให้บริการในเดือนแรกตามปีจันทรคติ)
เดินผ่านห้องเรื่องราวมายังศาลาชมวิวเพื่อชมหินหอยเชลล์กว้างเพียงสองเมตรที่มีลักษณะคล้ายหอยเชลล์ที่คุณจะพบบนจานอาหารมื้อค่ำของคุณ หินชิ้นเล็กชิ้นน้อยนี้ถูกคลื่นกัดเซาะมานานหลายศตวรรษ แตกออกมาจากผาหินภูเขาไฟหกเหลี่ยมจำนวนมากที่พบในเขตหินภูเขาไฟไซกุงในอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกแห่งฮ่องกง ผาหินแห่งนี้ซึ่งสร้างขึ้นจากเถ้าภูเขาไฟหนาแน่นและลาวาที่เย็นลงหลังจากการปะทุครั้งใหญ่เมื่อ 140 ล้านปีก่อน คาดว่าจะครอบคลุมพื้นที่กว่า 100 ตารางกิโลเมตร
ศาลาแห่งนี้ยังให้ทัศนียภาพตลอดช่องว่างแคบ ๆ ที่เรียกว่าช่องแคบเกาไซไปยังเกาะจินที่ไร้ผู้คนอาศัยหรือที่เรียกว่า Tiu Chung Chau ซึ่งเป็นภาษาจีนที่หมายถึง "เกาะระฆัง" เนื่องจากมีซุ้มหินโค้งรูประฆังอันงดงามอยู่ทางใต้สุดของศาลา นักเดินเขาจะเยี่ยมชมเกาะที่ปกคลุมไปด้วยการก่อตัวของหินหกเหลี่ยมที่แตกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อยน่าประทับใจนี้เพื่อให้ได้เห็นทัศนียภาพอันตรึงตราตรึงใจ ทว่าการจะไปถึงที่นั่นนั้นจำเป็นต้องจ้างเรือสำปั้นหรือเข้าร่วมกับทัวร์นำเที่ยวของอุทยานธรณีที่ได้รับการแนะนำ
มองหาป้ายสีเขียวใกล้วัดและเดินขึ้นบันไดผ่านที่โล่งให้ร่มเงาที่เคยเป็นที่ตั้งของโรงเรียนประจำหมู่บ้าน แล้วคุณจะอยู่บนเส้นทางขึ้นเขาที่เรียงรายไปด้วยไม้ดอกบางชนิดที่ชาวบ้านใช้ทำยาสมุนไพรแผนโบราณ เช่น ชาหรือน้ำซุปสมุนไพร คุณสามารถหยิบใบปลิวเส้นทางสมุนไพรที่จะช่วยให้คุณระบุชื่อพืชบางชนิดได้จากในห้องเรื่องราว เมื่อเดินขึ้นไปสูงขึ้น คุณจะออกจากป่า แล้วเส้นทางนี้จะมอบทัศนียภาพเปิดโล่งของเกาะ อ่าว และหาดหินของ Port Shelter อันงดงามยิ่งแก่คุณ
ไซกุงเป็นที่รู้จักจากร้านอาหารทะเลริมน้ำหลายแห่งที่ได้รับความนิยมเป็นพิเศษ โดยจะให้บริการอาหาร อาทิ กุ้งนึ่งซีอิ๊วพริกและหอยกาบใส่ถั่วดำและกระเทียม ทั้งยังมีร้านอาหาร ร้านกาแฟ และร้านฉาชานเท่งทันสมัยให้เลือกสรรมากมายตามทางเดินริมน้ำและถนนด้านข้างที่คึกคัก มีอาหารยอดนิยมและอาหารตะวันออกพร้อมเสิร์ฟมากมาย เช่น พิซซ่า พาสต้า แกงไทย ปลาและมันฝรั่งอังกฤษ และเคบับตุรกี
ใช้ขนส่งสาธารณะใดก็ได้ไปยังศูนย์กลางเมืองไซกุง (Sai Kung Town Centre) (เช่น รถบัสสาย 92 จากสถานีรถไฟฟ้า MTR Diamond Hill หรือรถบัสสาย 299X จากสถานีรถบัส Sha Tin Central Bus Terminus) จากนั้นเดินอีก 180 เมตรไปยังท่าเรือสาธารณะไซกุง (ท่าเรือฝั่งที่ยาวกว่าซึ่งอยู่ติดกับไซกุงพรอมานาด (Sai Kung Promenade)) เพื่อขึ้นเรือเฟอร์รี่ kaito ไปยังหมู่บ้านชาวประมงเกาไซ เรือเฟอร์รี่ kaito ที่นี่จะให้บริการในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เป็นหลัก โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที
หรืออีกทางหนึ่งก็คือจองล่องเรือตกปลา ระหว่างตกปลาจะเดินทางจากไซกุงไปยังเขตเพาะพันธุ์ปลาเกาไซ และเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวประมงเกาไซด้วย โดยคุณอาจเข้าร่วมทัวร์ทางทะเลเขตหินภูเขาไฟไซกุงของศูนย์สำรวจภูเขาไฟที่อยู่ถัดจากสถานีรถบัส ซึ่งรวมการเข้าเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวประมงเกาไซด้วยเช่นกัน ขอแนะนำให้โทรจองล่วงหน้าโดยติดต่อไปยังหมายเลข +852 2394 1538 เยี่ยมชมเเว็บไซต์ทางการเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
ขึ้นเรือเฟอร์รี่ kaito กลับมาที่ท่าเรือสาธารณะไซกุง (Sai Kung Public Pier) เรือเฟอร์รี่ลำสุดท้ายจะออกจากท่าเรือเวลา 17:00 น.
สำหรับรายละเอียดบริการของเรือเฟอร์รี่ kaito กรุณาเข้าชมได้ที่ เว็บไซต์กรมการขนส่ง.
เขียนโดย เซาท์ไชน่ามอร์นิ่งโพสต์
คนส่วนใหญ่มุ่งหน้าไปยังเกาไซเชา เกาะ 8 เหลี่ยมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดนอกคาบสมุทรไซกุงและถือเป็นแหล่งมรดกธรณีของอุทยานธรณีโลกของยูเนสโกแห่งฮ่องกง ลองไปเยี่ยมชมเพียงครึ่งบนสุดเพื่อตีกอล์ฟที่สนามกอล์ฟสาธารณะแห่งเดียวของฮ่องกง ทว่าทางตอนใต้สุดซึ่งอยู่เหนือเนินเขาเตี้ย ๆ ที่มองไม่เห็นคือหมู่บ้านชาวประมงที่หาชมได้ยาก นั่นคือ หมู่บ้านชาวประมงเกาไซ ซึ่งเป็นการตั้งถิ่นฐานเพียงแห่งเดียวของเกาะและเหมือนจะมีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยเมื่อเวลาผ่านไป คุณสามารถจ้างเรือสำปั้นเพื่อเดินทางมายังหมู่บ้านที่งดงามราวภาพวาดแห่งนี้ ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของครอบครัวเพียงไม่กี่สิบครอบครัวและวัดเก่าแก่ที่แยกจากกันด้วยช่องแคบเล็ก ๆ จากเกาะจิน น่านน้ำเหล่านี้เป็นที่ตั้งของแพฟาร์มปลาลอยน้ำ ซึ่งคุณสามารถเพลิดเพลินกับกิจกรรมตกปลาเพื่อการพักผ่อนหย่อนใจและการผ่อนคลายริมทะเล
ร้านค้าในหมู่บ้านและบ้านหลังสุดท้ายเมื่อคุณเลี้ยวซ้ายจากท่าเรือหมู่บ้านชาวประมงเกาไซจำหน่ายขายเครื่องดื่มจากตู้เย็นกลางแจ้งและให้บริการ “อาหารหมู่บ้านชาวประมง” ที่ได้รับการคัดสรรและเขียนไว้บนกระดานดำ
ใช้ขนส่งสาธารณะใดก็ได้ไปยังศูนย์กลางเมืองไซกุง (Sai Kung Town Centre) (เช่น รถบัสสาย 92 จากสถานีรถไฟฟ้า MTR Diamond Hill หรือรถบัสสาย 299X จากสถานีรถบัส Sha Tin Central Bus Terminus) จากนั้นเดินอีก 180 เมตรไปยังท่าเรือสาธารณะไซกุง (ท่าเรือฝั่งที่ยาวกว่าซึ่งอยู่ติดกับไซกุงพรอมานาด (Sai Kung Promenade)) เพื่อขึ้นเรือเฟอร์รี่ kaito ไปยังหมู่บ้านชาวประมงเกาไซ เรือเฟอร์รี่ kaito ที่นี่จะให้บริการในวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์เป็นหลัก โดยใช้เวลาเดินทางประมาณ 30 นาที
หรืออีกทางหนึ่งก็คือจองล่องเรือตกปลา ระหว่างตกปลาจะเดินทางจากไซกุงไปยังเขตเพาะพันธุ์ปลาเกาไซ และเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวประมงเกาไซด้วย โดยคุณอาจเข้าร่วมทัวร์ทางทะเลเขตหินภูเขาไฟไซกุงของศูนย์สำรวจภูเขาไฟที่อยู่ถัดจากสถานีรถบัส ซึ่งรวมการเข้าเยี่ยมชมหมู่บ้านชาวประมงเกาไซด้วยเช่นกัน ขอแนะนำให้โทรจองล่วงหน้าโดยติดต่อไปยังหมายเลข +852 2394 1538 เยี่ยมชมเเว็บไซต์ทางการเพื่อศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม
ขึ้นเรือเฟอร์รี่ kaito กลับมาที่ท่าเรือสาธารณะไซกุง (Sai Kung Public Pier) เรือเฟอร์รี่ลำสุดท้ายจะออกจากท่าเรือเวลา 17:00 น.
สำหรับรายละเอียดบริการของเรือเฟอร์รี่ kaito กรุณาเข้าชมได้ที่ เว็บไซต์กรมการขนส่ง.