พูดได้เลย

พูดได้เลย


ฉันขอโทษด้วย ที่ฟังไม่เข้าใจ

ฉันขอโทษด้วย ที่ฟังไม่เข้าใจ

เชิญร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลเก่าแก่เหล่านี้ในฮ่องกง

เชิญร่วมเฉลิมฉลองเทศกาลเก่าแก่เหล่านี้ในฮ่องกง

แม้จะมีความเป็นนานาชาติและทันสมัยเสมอมา แต่ฮ่องกงก็ไม่เคยละทิ้งขนบธรรมเนียมประเพณีที่สืบสานกันมา คุณจะได้สัมผัสขนบธรรมเนียมของเมืองแห่งนี้ไม่ว่าคุณจะวางแผนมาเยือนเมื่อใดก็ตาม การเฉลิมฉลองเทศกาลของชาวจีนตลอดทั้งปี เป็นวิธีที่ชาวฮ่องกงผู้รักความสนุกสนานรักษามรดกของตนให้มีชีวิตอยู่ต่อไป

เทศกาลตรุษจีน

มาส่งท้ายฤดูหนาวและต้อนรับฤดูใบไม้ผลิอย่างสุขสันต์รื่นเริง ด้วยการร่วมฉลองเทศกาลตรุษจีนที่ฮ่องกง ซึ่งเป็นเทศกาลสำคัญไม่แพ้เทศกาลครบรอบวันเกิดแชกง และเทศกาลโคมไฟฤดูใบไม้ผลิ ในช่วงตรุษจีน คุณจะเห็นบรรดาเด็กและผู้ใหญ่สวมเสื้อผ้าสีแดงตั้งแต่หัวจรดเท้าหลากหลายเฉด ทักทายใครต่อใครไม่ว่าเพื่อนบ้านหรือเจ้าของร้านด้วยคำอวยพรอันเป็นมงคล ด้านหน้าอาคารบ้านเรือนต่างๆ มีการประดับด้วยโคมสีทองและลวดลายสัตว์ประจำปีนักษัตร ตลาดต่างๆ มีอาหารมงคลสารพัดอย่างจำหน่าย สร้างบรรยากาศชวนตื่นตาตื่นใจ 

เทศกาลฮุงซิง

เทศกาลฮุงซิง

ฤดูใบไม้ผลิเป็นฤดูของการเฉลิมฉลองวันประสูติของเทพเจ้าหลายองค์ผู้เป็นที่รักและเคารพของชาวฮ่องกงหลายต่อหลายรุ่น นำโดยเทศกาลฮุงซิง

เช่นเดียวกับเทพเจ้าองค์อื่น ๆ ที่ชาวฮ่องกงบูชา ฮุงซิงเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกสถานะเป็นเทพในภายหลัง บุรุษซึ่งเป็นที่มาของเทพองค์นี้ชื่อฮุง เฮย เป็นเจ้าเมืองพานหยูในมณฑลกวางตุ้งระหว่างช่วงราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) เขาเป็นทั้งนักดาราศาสตร์และนักภูมิศาสตร์ที่ผู้คนเคารพนับถือ ผู้ช่วยพยากรณ์สภาพลมฟ้าอากาศให้แก่ชาวประมงและพ่อค้า ฉะนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่ให้ความสำคัญกับเทศกาลฮุงซิงในฮ่องกงคือชาวประมงนั่นเอง การเฉลิมฉลองต่าง ๆ มีทั้งอุปรากรจีน ขบวนแห่ และอื่น ๆ จัดขึ้นที่ Ho Sheung Heung ซึ่งเป็นหมู่บ้านอายุร่วม 800 ปีในเขตดินแดนใหม่และ วัดฮุงซิงที่เกาะอเบอร์ดีน ซึ่งมีอายุมากกว่า 240 ปี

วันประสูติของเจ้าแม่ทินหัว

วันประสูติของเจ้าแม่ทินหัว

มรดกทางทะเลของฮ่องกงทำให้มั่นใจได้ว่าทินหัว เทพธิดาแห่งท้องทะเลและนักบุญอุปถัมภ์ของชาวประมงนั้นมีผู้เคารพบูชาที่ภักดีและศรัทธาอย่างแรงกล้า ในวันประสูติของท่าน ชาวบ้านจะพร้อมใจกันไปที่วัดกว่า 70 แห่งในเมืองเพื่อขอให้ท่านมอบความปลอดภัย ความมั่นคง สภาพอากาศที่ดี และฝูงปลาอันอุดมสมบูรณ์ให้จับได้ในช่วงปีที่จะถึงนี้ การแสดงความเคารพต่อเจ้าแม่ทินหัวปฏิบัติกันมาอย่างเนิ่นนาน ซึ่งแม้กระทั่งคนหนุ่มสาวจำนวนมากที่มีแนวโน้มจะได้เห็นปลาในร้านอาหารมากกว่าบนเรือลากอวนก็ยังคงเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ ชมขบวนพาเหรดสามชั่วโมงในหยวนหลง รวมถึงการเฉลิมฉลองที่วัดทินหัวในจอสส์เฮาส์เบย์ ซึ่งเก่าแก่ที่สุดในฮ่องกง

วันประสูติของพระพุทธเจ้า

เครดิตภาพ: โช ซิง หยาน

วันประสูติของพระพุทธเจ้า

หนึ่งในเทศกาลทางจิตวิญญาณที่มีเอกลักษณ์ที่สุดในฮ่องกงคือวันประสูติของพระพุทธเจ้า (สิทธัตถะ โคตมะ ศาสดาของศาสนาพุทธหรือที่รู้จักกันในชื่อ ศากยมุนี) ซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองที่เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าเทศกาลสรงน้ำพระพุทธเจ้า

ตามตำนาน มีพญานาคเก้าตนผุดขึ้นมาพ่นน้ำเพื่อสรงน้ำให้แก่พระพุทธเจ้าที่เพิ่งประสูติ ดังนั้น ในวันประสูติของพระองค์ เหล่าสาวกจะรวมตัวกันที่วัดพุทธเพื่อสรงน้ำพระพุทธรูป เชื่อกันว่าพิธีกรรมนี้จะช่วยชำระจิตวิญญาณให้บริสุทธิ์ หนึ่งในพิธีที่ยิ่งใหญ่ที่สุดจัดขึ้นที่ อารามโป๋หลิน ดูเส้นทาง {{title}} {{taRatingReviewTotal}} {{taRatingReviewText}} ที่ตั้ง {{address}} เว็บไซต์ {{website}} ข้อมูลเพิ่มเติม บนเกาะลันเตา ซึ่งเป็นที่ตั้งของพระใหญ่

ก่อนและหลังวันประสูติของพระพุทธเจ้า เหล่าผู้ร่วมเฉลิมฉลองยังร่วมกันกินคุกกี้สีเขียวรสขม ซึ่งแสดงถึงการผ่านความยากลำบากเพื่อพานพบกับสิ่งที่ดีกว่าในภายภาคหน้า

วันประสูติของเทพเจ้าทัมกุง

วันประสูติของเทพเจ้าทัมกุง

เทพเจ้าทัมกุงเป็นที่นับถือกันในหมู่ชาวประมงและชุมชนแถบชายฝั่งทะเล ซึ่งมีวิธีสักการะที่ไม่เหมือนใครในฮ่องกง เทพเจ้าทัมกุงเกิดในจังหวัดฮุ่ยโจว มณฑลกวางตุ้ง สมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1206-1368) กล่าวกันว่าท่านสามารถพยากรณ์ดินฟ้าอากาศและรักษาคนป่วยได้ตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ท่านมักปรากฏในรูปลักษณ์ชายอายุ 80 ปีแต่มีใบหน้าราวอายุ 12 ปี เพราะเชื่อว่าท่านบรรลุซึ่งสติปัญญาตั้งแต่วัยเยาว์และได้เรียนรู้ความลับของการคงความเยาว์วัยไว้ตลอดกาล

ชมการเชิดสิงโตและขบวนพาเหรดบนถนนที่เก่าแก่และคึกคักที่สุด วัดทัมกุง ในเซาเคยวาน สร้างขึ้นในปี 1905 และปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ในปี 2002 โดยยังคงรักษารูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมไว้เป็นอย่างดี

เทศกาลซาลาเปาบนเกาะเฉิ่งเจ้า

เทศกาลซาลาเปาบนเกาะเฉิ่งเจ้า

เทศกาลที่ตื่นตาตื่นใจที่สุดเทศกาลหนึ่งของเมืองนี้ถือเป็นจุดสิ้นสุดฤดูใบไม้ผลิ เมื่อมีนักท่องเที่ยวนับพันเดินทางข้ามไปยังเกาะเล็ก ๆ อันเงียบสงบแห่งนี้เพื่อเข้าร่วมในเทศกาลซาลาเปาบนเกาะเฉิ่งเจ้า ซึ่งประกอบด้วย ขบวนพาเหรดพิ้วเส็กกับเด็ก ๆ ที่แต่งตัวเป็นเทพองค์ต่าง ๆ ยืนอยู่บนเสา การเชิดสิงโต เทศกาลของลิทธิเต๋า และการแข่งขันชิงซาลาเปาที่น่าตื่นเต้น การเฉลิมฉลองเหล่านี้ล้วนอยู่ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของจีน ทุกอย่างตั้งแต่ซาลาเปาไปจนถึงหอคอยไม้ไผ่สูง 14 เมตรนั้นทำโดยความร่วมใจของคนในชุมชนท้องถิ่น ดังนั้นนี่จึงเป็นเทศกาลที่มีเอกลักษณ์ยากจะเลียนแบบได้ของฮ่องกง

เทศกาลเรือมังกร

เทศกาลเรือมังกร

ฤดูร้อนในฮ่องกงเริ่มต้นขึ้นด้วยเทศกาลเรือมังกรที่ควรค่าแก่การมาถ่ายรูปลงอินสตาแกรม เทศกาลนี้เฉลิมฉลองให้แก่นายชี หยวน วีรบุรุษแห่งชาติของจีนที่จมน้ำจนเสียชีวิตในระหว่างการประท้วงต่อต้านผู้ปกครองที่ทุจริต โดยมีการเฉลิมฉลองไปทั่วประเทศจีน ในฉบับของฮ่องกงนั้นได้รับอานิสงส์จากทำเลที่อยู่ใกล้กับเส้นขอบฟ้าของอ่าววิคตอเรียที่สวยงาม ขณะเรือมังกรสีสันสดใสแล่นผ่านอ่าวแห่งนี้ในการแข่งขันระหว่างนักพายเรือจากนานาชาติที่เทศกาลเรือมังกรฮ่องกง อย่าพลาดขบวนพาเหรดน้ำเรือมังกรอันงดงามของไท่โอ ที่มีรูปปั้นเทพเจ้าตั้งอยู่บนเรือแจวอันศักดิ์สิทธิ์และลากไปโดยเรือมังกรในขบวนเรือแห่ของไท่โอเพื่อกำราบเหล่าพรายน้ำเร่ร่อน

เทศกาลภูติผีที่หิวโหย

ตามความเชื่อของชาวจีนโบราณ เดือนที่เจ็ดในปฏิทินจันทรคติคือเดือนที่วิญญาณเร่ร่อนจะออกมาท่องโลก และผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จะเฉลิมฉลองเทศกาลยูหลันหรือเทศกาลภูติผีที่หิวโหย แม้ว่าต้นกำเนิดของเทศกาลจะไม่ต่างจากฮาโลวีนในยุโรป แต่ก็มีความเชื่อมโยงกับการเซ่นไหว้บรรพบุรุษของชาวจีนอย่างมีนัยสำคัญ เทศกาลยูหลันซึ่งเป็นการเฉลิมฉลองในวัฒนธรรมของชุมชนเฉาโจวในฮ่องกงนี้ อยู่ในรายการมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของประเทศจีน สำหรับนักท่องเที่ยว นี่เป็นโอกาสดีที่จะได้เห็นวัฒนธรรมการดำเนินชีวิตของฮ่องกง จากการมีผู้คนมากมายจุดไฟตามข้างถนนและเผาเงินกงเต๊ก รวมถึงเครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ ให้แก่ภูติผีและบรรพบุรุษเพื่อจะได้นำไปใช้ในชีวิตหลังความตาย ทั้งยังมีอาหารที่จัดวางไว้เพื่อให้ภูติผีที่หิวโหยเหล่านั้นอิ่มหนำสำราญ นอกจากนี้ยังมีการแสดงอุปรากรจีนทั่วทุกหนแห่งในเมือง ซึ่งมักจะจัดขึ้นบนเวทีไม้ไผ่ชั่วคราวเพื่อเชิดชูสิ่งที่ดีและสักการะเทพเจ้า

เทศกาลไหว้พระจันทร์

เทศกาลไหว้พระจันทร์

ทรงกลมเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเอกภาพในวัฒนธรรมจีน พระจันทร์เต็มดวงจึงเป็นเวลาเหมาะสำหรับครอบครัวให้มารวมตัวกัน นี่คือแนวคิดของผู้คนที่เฉลิมฉลองเทศกาลไหว้พระจันทร์มาตั้งแต่สมัยต้นราชวงศ์ถัง (ค.ศ. 618-907) สำหรับหลาย ๆ คน นี่ถือเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดของปีเลยทีเดียว ฮ่องกง มหานครที่มีความเป็นเมืองสมัยใหม่ ยังคงเฉลิมฉลองเทศกาลนี้และทำได้อย่างมีสไตล์ ด้วยขนมไหว้พระจันทร์หลากหลายชนิดที่ทำจากวัตถุดิบทุกอย่าง ตั้งแต่ไข่แดงเค็มไปจนถึงไอศกรีม หรือหากคุณกำลังมองหาความตื่นตาตื่นใจ ลองตรงไปที่ไท่หางเพื่อรับชมการเชิดมังกรไฟอันตระการตา ก่อนจะปิดท้ายค่ำคืนด้วยการเดินชมโคมไฟที่แขวนไว้รอบเมือง

ชื่อหน้าต่างข้อมูล
ที่ตั้ง
เว็บไซต์
เว็บไซต์

คุณอาจสนใจ...

{{post.type}}

{{post.title}}

{{post.date}}

We use cookies to ensure that we give you the best experience on our website, to understand your interests and provide personalized content to you as further set out in our Cookie Policy here. If you accept the use of cookies on our website, please indicate your acceptance by clicking the "I accept" button. You may manage your cookies settings at any time.